เรื่องน่ารู้ของคนรักบ้าน ต่อเติมบ้านอย่างไรให้ไม่ผิดกฎหมาย

เมื่อบ้านหลังเดิมที่อาศัยอยู่มานานหลายสิบปีเริ่มไม่มีพื้นที่ใช้สอยเพียงพอ ทำให้เจ้าของบ้านหลาย ๆ คนเริ่มมีความคิดอยากจะขยับขยายหรือทำการต่อเติมบ้าน เพื่อเพิ่มพื้นที่การใช้งานในบ้านให้มากขึ้น แต่การต่อเติมบ้านนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่สามารถลงมือทำได้ทันที เพราะการต่อเสริมเติมแต่งบ้านนั้นไม่ต่างจากการสร้างบ้านใหม่ทั้งหลัง ที่ต้องใช้ทั้งเงิน เวลา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องศึกษากฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการต่อเติมบ้าน รวมไปถึงการแจ้งหรือขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การก่อสร้างนั้นเป็นไปราบรื่น ถูกต้องตามการก่อสร้างและหลักกฎหมาย รวมถึงลดปัญหาที่อาจตามมาในภายหลัง MASTER HOME ขอมาแชร์เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการต่อเติมบ้านให้ถูกกฎหมาย สำหรับคนที่กำลังมีความคิดอยากต่อเติมบ้าน เพื่อให้เป็นไปอย่างถูกต้อง

Table of Contents

กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการต่อเติมบ้าน

เพราะการกระทำการต่อเติมบ้าน จำเป็นต้องมีข้อกฎหมายมาบังคับใช้ เพื่อให้การก่อสร้างหรือต่อเติมเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักการก่อสร้าง และคำนึงถึงผลกระทบด้านอื่น ๆ ในอนาคต ซึ่งข้อบังคับที่เกี่ยวข้องในการต่อเติมบ้านคือ ‘พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522’ ในมาตรา 21 และ 39 ทวิ ซึ่ง MASTER HOME สรุปให้สั้น ๆ ว่า ต้องมีการขออนุญาตหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนกระทำการต่อเติม รื้อถอน ดัดแปลง หรือกระทำการต่อสร้างใด ๆ เกี่ยวกับตัวบ้านก่อนเสมอ เพื่อให้การก่อสร้างดำเนินการถูกต้อง และลดความเสี่ยงต่อการก่อสร้างที่ผิดกฎหมาย หรือปัญหาอื่น ๆ ในอนาคต

ต่อเติมบ้านอย่างไรให้ถูกกฎหมาย

การต่อเติมบ้านนั้นจำเป็นต้องต่อเติมตามกฎหมายหรือข้อบังคับที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ซึ่ง MASTER HOME สรุปมาให้แบบเข้าใจง่ายดังนี้

  1. ต้องมีพื้นที่ระหว่างบ้านกับเขตที่ดินเหลืออย่างน้อย 30% หลังจากทำการต่อเติม ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มห้อง หรือต่อเติมพื้นที่ชั้นบน หรือระเบียง โดยบ้านต้องมีพื้นที่เหลือรอบตัวบ้าน เพื่อความปลอดโปร่ง และอากาศถ่ายเทสะดวก โดยอาคารที่สูงไม่เกิน 15 เมตร จะต้องมีพื้นที่โดยรอบอย่างน้อย 1 เมตร และในกรณีที่บ้านมีความสูงเกิน 15 เมตร จะต้องมีพื้นที่เหลือในบริเวณโดยรอบอย่างน้อย 2 เมตร 
  2. คำนึงถึงระยะย่นและระยะห่างระหว่างตัวบ้านกับทางสาธารณะ โดยเริ่มวัดตั้งแต่เขตทางมาจนถึงตัวอาคาร โดยกฎหมายได้กำหนดระยะย่นของตัวอาคารไว้ดังนี้ 

โดยบ้านหรืออาคารที่สูงเกิน 2 ชั้น หรือมีความสูงเกิน 8 เมตร ต้องมีระยะห่างดังนี้

  • ทางสาธารณะมีความกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ให้ระยะย่นห่างจากกึ่งกลางถนนอย่างน้อย 3 เมตร
  • ทางสาธารณะกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ให้ระยะย่นห่างจากกึ่งกลางถนนอย่างน้อย 6 เมตร

และระยะห่างระหว่างผนังอาคารที่มีประตู หน้าต่าง หรือระเบียง จะต้องมีระยะห่างจากเขตที่ดินดังนี้ 

  • อาคารที่สูงไม่เกิน 9 เมตร ผนังจะต้องมีระยะห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2 เมตร
  • อาคารที่สูงเกิน 9 เมตร แต่สูงไม่ถึง 23 เมตร ผนังจะต้องมีระยะห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 3 เมตร

ระยะห่างของชายคาหรือกันสาดจะต้องห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 0.5 เมตร และระยะห่างของระเบียงชั้นบน จะต้องเว้นระยะจากแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2 เมตร 

  1. หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่าการต่อเติมบ้าน ต้องแจ้งไหม สรุปคือการต่อเติมบ้าน ต้องขออนุญาตเจ้าพนักงานก่อนทำการต่อเติม เนื่องจากการก่อสร้างบางประเภทจำเป็นต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ในข้อกฎหมาย ซึ่งการก่อสร้างหรือต่อเติมบ้านที่ต้องขออนุญาตมีดังนี้ 
  • การต่อเติมที่มีการเปลี่ยนแปลงวัสดุ 
  • การเพิ่ม-ลดจำนวนเสาหรือคาน
  • การต่อเติมพื้นที่ใช้สอยเกิน 5 เมตร
  • การต่อเติมบริเวณหลังคาเกิน 5 เมตร 
  • การต่อเติมที่เพิ่มน้ำหนักบ้านเกิน 10%
  1. การก่อสร้างหรือต่อเติมบ้าน ต้องมีการควบคุมการก่อสร้างโดยสถาปนิกและวิศวกร เพราะทั้งสถาปนิกและวิศวกรมีหน้าที่ช่วยออกแบบการต่อเติมบ้าน วางแผนการก่อสร้าง และควบคุมการก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนและปลอดภัยตามหลัก ซึ่งในการยื่นขออนุญาตต่อเติมบ้านจำเป็นต้องมีแผนการต่อเติม รวมถึงชื่อสถาปนิกและวิศวกรผู้รับผิดชอบการก่อสร้างด้วย 
  2. ได้รับความยินยอมจากเพื่อนบ้านหรือผู้อาศัยใกล้เคียง เนื่องจากการก่อสร้าง หรือต่อเติมบ้านมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบ ไม่ว่าจะเป็นทั้งเรื่องเสียงรบกวน ฝุ่น รวมถึงภัยอันตรายที่เกิดจากการก่อสร้างที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้อาศัยโดยรอบ เจ้าของบ้านจึงต้องมีการแจ้งเพื่อนบ้านก่อนทำการต่อเติมบ้านเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดข้อพิพาท ข้อโต้แย้ง หรือปัญหาในการอยู่อาศัยร่วมกันกับเพื่อนบ้านในอนาคต

ขั้นตอนการขออนุญาตต่อเติมบ้าน

ในการต่อเติมบ้าน มีขั้นตอนต่าง ๆ กที่ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มทำการต่อเติม ซึ่ง MASTER HOME สรุปมาให้สั้น ๆ เข้าใจง่ายดังนี้

  1. ติดต่อเจ้าพนักงานองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ตามทะเบียนบ้าน 
  2. ยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
  • แบบคำร้องขออนุญาตปลูกสร้าง รื้อถอน หรือดัดแปลงอาคาร 1 ชุด
  • แบบแปลนบ้าน ที่แสดงลักษณะขอบเขตที่จะดัดแปลง 5 ชุด
  • สำเนาโฉนดที่ดินของบ้านที่จะทำการต่อเติม 1 ชุด
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบ้านหรือผู้ต้องการต่อเติม 1 ชุด
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ต้องการต่อเติมบ้าน 1 ชุด 
  1. เจ้าพนักงานองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจะใช้เวลาพิจารณาคำขอ และออกใบอนุญาตภายใน 45 วัน
  2. เมื่อได้รับใบอนุญาต ต้องส่งหนังสือแจ้งผู้ควบคุมงาน พร้อมด้วยวันเริ่ม-สิ้นสุดการก่อสร้าง ต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น

ข้อควรระวังในการต่อเติมบ้าน

การต่อเติมบ้านก็เป็นการก่อสร้างที่ต้องใช้เวลานานและมีขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ภายใต้กฎหมาย เพื่อให้การต่อเติมบ้านดำเนินการอย่างถูกต้องและปลอดภัย ซึ่งต้องมีข้อควรระวังในการต่อเติมบ้านต่าง ๆ ที่ MASTER HOME อยากให้เจ้าของบ้านทุกท่านทราบก่อนต่อเติมบ้าน ซึ่งมีดังนี้ 

  • ห้ามต่อเติมบ้านจนเต็มพื้นที่
  • ควรระวังแนวอาคารหรือระยะย่น
  • แจ้งเพื่อนบ้านก่อนเสมอ
  • ต้องมีใบอนุญาตจากเจ้าพนังงานท้องถิ่น
  • มีสถาปนิกและวิศวกรควบคุม

 

หากการก่อสร้าง หรือต่อเติมบ้านไม่เป็นไปตามที่กฎหมายหรือข้อบังคับกำหนดไว้ ผู้กระทำการต่อเติมอาจมีโทษตามกฎหมาย หากมีการต่อเติมบ้านโดยไม่ได้รับอนุญาต ผิดไปจากแบบแปลนที่ยื่นขออนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับ 60,000 บาาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากมีการร้องเรียนว่ามีการต่อเติมหรือดัดแปลงบ้านแบบผิดกฎหมาย เจ้าของบ้านมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สรุป

ต่อเติมบ้าน มีขั้นตอนการดำเนินการหลายขั้นตอน ต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าพนักงานในพื้นที่ท้องถิ่น และที่สำคัญต้องก่อสร้างโดยคำนึงถึงหละกฎหมาย ดังนั้นผู้ที่กำลังจะทำการต่อเติมหรือดัดแปลงบ้านต้องมีความรู้ในด้านนี้ รวมถึงต้องดำเนินการอย่างรอบเสมอ เพื่อให้การก่อสร้างเป็นไปตามกฎหมาย 

ให้การต่อเติมบ้านของคุณเป็นเรื่องง่ายกับ MASTER HOME เราคือผู้ให้บริการต่อเติมบ้านแบบครบวงจร ดูแลตั้งแต่ต้นจนจบ โดยทีมช่างผู้เชี่ยวชาญ ประวัติดี ตรวจสอบได้ ไม่ทิ้งงาน พร้อมรับประกันคุณภาพงานนานถึง 1 ปี ในราคาเริ่มต้นเพียง 9,999 บาท ให้คุณสบายใจในทุกขั้นตอน เพื่อสร้างพื้นที่ฝันในบ้านของคุณ 

Latest Update