MASTER HOME แนะนำแนวทางต่อเติมห้องครัวไทยแบบไหนเหมาะกับคุณ

MASTER HOME แนะนำแนวทางต่อเติมห้องครัวไทยแบบไหนเหมาะกับคุณ

ต่อเติมห้องครัว ถือเป็นหนึ่งในตัวเลือกยอดนิยมของคนไทยที่ต้องการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน โดยเฉพาะครัวไทยแบบเปิด ซึ่งเหมาะสำหรับการทำอาหารรสจัดที่มีกลิ่นแรง เช่น การหุง อุ่น ตุ๋น ต้ม นึ่ง ผัด และทอด ที่มักใช้เครื่องเทศหลากหลาย ในบทความนี้ MASTER HOME จะมาแนะนำแนวทางการต่อเติมครัวไทยในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะกับการใช้งานของคุณ ไม่ว่าจะเป็นครัวที่เน้นความทันสมัยหรือแบบดั้งเดิม เพื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์และความต้องการในการใช้งานของบ้านคุณ

MASTER HOME แนะนำแนวทางต่อเติมห้องครัวไทยแบบไหนเหมาะกับคุณ
สารบัญเนื้อหา

ความสำคัญของการต่อเติมห้องครัวในบ้านไทย

ห้องครัวถือเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญของหลายครอบครัว ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงแค่พื้นที่สำหรับเตรียมและปรุงอาหารเท่านั้น แต่ยังเป็นมุมที่สามารถใช้เวลาร่วมกับคนในครอบครัวได้อีกด้วย การออกแบบและ ต่อเติมห้องครัว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับครอบครัวที่ชอบทำอาหารรับประทานเอง เนื่องจากการต่อเติมห้องครัวใหม่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำอาหาร ทำให้ใช้งานได้สะดวกขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เก็บของที่มากขึ้น แสงสว่างที่เพียงพอ หรือระบบระบายอากาศที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การ ต่อเติมครัว จำเป็นต้องพิจารณาหลายปัจจัย เช่น ขนาดพื้นที่ งบประมาณ ความต้องการของผู้อยู่อาศัย รวมถึงสไตล์โดยรวมของบ้าน เพื่อให้การต่อเติมนั้นสอดคล้องกับการใช้งานและบรรยากาศของบ้าน

รูปแบบการต่อเติมห้องครัวที่เหมาะกับบ้านไทย

1. ต่อเติมครัวแบบเปิด (Open Kitchen)

ต่อเติมห้องครัวแบบเปิดสามารถปรับใช้ได้ทั้งบ้านที่มีพื้นที่กว้างและบ้านที่มีพื้นที่จำกัด โดยส่วนใหญ่ครัวไทยแบบเปิดจะเป็นการต่อเติมในลักษณะการเปิดโล่งรอบด้านเพื่อรับแสงธรรมชาติ ให้ความรู้สึกโปร่ง โล่ง เพลิดเพลินกับการทำอาหารเมนูหนัก ๆ ในขณะเดียวกันก็สามารถระบายอากาศได้ดีมาก ลดความชื้น หมดกังวลเรื่องของกลิ่นและความร้อนสะสม จึงไม่มีความจำเป็นต้องติดตั้งเครื่อดูดควัน แต่ถึงแม้จะเป็นการต่อเติมครัวในรูปแบบที่ง่าย แต่ยังมีจุดที่เจ้าของบ้านต้องระมัดระวัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของยุง ไรฝุ่น และแมลงต่าง ๆ ควรให้ความสำคัญกับพื้นที่ต่อเติมเพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดดหรือฝนสาดหนัก ๆ ตลอดจนเรื่องของกลิ่นหรือควันที่อาจลอยไปรับกวนเพื่อนบ้านข้าง ๆ

การต่อเติมครัวแบบเปิดสามารถปรับใช้ได้ทั้งในบ้านที่มีพื้นที่กว้างและบ้านที่มีพื้นที่จำกัด โดยส่วนใหญ่ครัวไทยแบบเปิดมักถูกออกแบบให้เปิดโล่งรอบด้าน เพื่อรับแสงธรรมชาติและสร้างบรรยากาศที่โปร่ง โล่ง สบาย ช่วยให้การทำอาหารเมนูหนักๆ เป็นเรื่องเพลิดเพลิน อีกทั้งยังสามารถระบายอากาศได้ดี ลดความชื้น และไม่ต้องกังวลเรื่องกลิ่นหรือความร้อนสะสม จึงไม่มีความจำเป็นต้องติดตั้งเครื่องดูดควัน 

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะเป็นการต่อเติมที่ดูง่าย ๆ แต่เจ้าของบ้านควรให้ความสำคัญกับปัญหาต่างๆ เช่น ยุง แมลง และไรฝุ่น MASTER HOME แนะนำว่าการออกแบบควรคำนึงถึงการป้องกันแสงแดดหรือฝนที่อาจสาดเข้ามา รวมถึงการป้องกันกลิ่นและควันจากการทำอาหารไม่ให้รบกวนพื้นที่ข้างเคียง ซึ่งการป้องกันเหล่านี้จะช่วยให้การต่อเติมครัวมีประสิทธิภาพ สร้างความสบายใจให้กับทั้งเจ้าของบ้านและเพื่อนบ้านั่นเอง

2. ต่อเติมห้องครัวแบบปิด (Closed Kitchen)itchen)

สำหรับครัวไทยแบบปิด รูปแบบการต่อเติมห้องครัวมักเป็นการก่อผนังกั้น เพื่อแบ่งพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน ซึ่งนิยมในบ้านทาวน์เฮ้าส์หรือทาวน์โฮมที่มีพื้นที่จำกัด โดยจะใช้พื้นที่บางส่วนของตัวบ้านชั้นหนึ่งเพื่อสร้างห้องครัว 

สำหรับบ้านเดี่ยว หลายครอบครัวมักเลือกต่อเติมห้องครัวออกไปด้านข้าง แต่ยังคงเลือกครัวแบบปิดเพราะต้องการความเป็นส่วนตัว การต่อเติมแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการทำเมนูอาหารหนักๆ ใช้เครื่องเทศที่มีกลิ่นแรง โดยไม่ต้องกังวลว่ากลิ่นจะไปรบกวนห้องอื่นๆ ที่อยู่ติดกัน นอกจากนี้ การติดตั้งเครื่องดูดควันยังช่วยป้องกันกลิ่นไม่ให้รบกวนเพื่อนบ้านได้อีกด้วย ข้อดีของครัวแบบปิดคือหมดปัญหาเรื่องยุง แมลง ฝนตก หรือแดดจัด เพราะสามารถใช้งานได้ตามปกติโดยไม่ถูกรบกวนจากสภาพอากาศภายนอก

3.ต่อเติมห้องครัวไทยกึ่งเปิด (semi-open kitchen)

ครัวไทยกึ่งเปิดเป็นการผสมผสานระหว่างครัวแบบเปิดและครัวแบบปิด โดยการต่อเติมห้องครัวในลักษณะนี้จะมีทั้งส่วนที่เปิด-ปิดตามความเหมาะสม มักใช้วัสดุที่มีช่องว่างเป็นตัวช่วยในการกั้นพื้นที่ห้องครัวให้เป็นสัดส่วน เช่น บล็อกช่องลมหรือระแนงไม้ วัสดุเหล่านี้ช่วยให้ห้องครัวมีการระบายอากาศที่ดี และยังเพิ่มความเป็นส่วนตัวในการทำอาหาร นอกจากนี้ การออกแบบลักษณะกึ่งเปิดยังช่วยพรางสายตา สร้างบรรยากาศที่สบายๆ ในขณะที่ยังคงความสะดวกสบายในการใช้งาน

ข้อแนะนำก่อนต่อเติมห้องครัว

ก่อนทำการต่อเติมห้องครัว MASTER HOME แนะนำว่าเจ้าของบ้านควรทราบข้อกฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับการเว้นระยะร่นและที่ว่างให้ถูกต้องตามกฎหมาย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2543 ได้กำหนดว่าหากผนังห้องครัวด้านใดมีช่องเปิดหรือช่องแสง ต้องเว้นระยะห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2 ม. แต่หากเป็นผนังทึบ สามารถต่อเติมให้ชิดเขตที่ดินได้โดยเว้นระยะ 50 ซม. ในกรณีที่เจ้าของบ้านต้องการต่อเติมครัวให้ชิดขอบรั้ว ควรแจ้งให้เพื่อนบ้านข้างเคียงทราบ และทำข้อตกลงเซ็นยินยอมร่วมกัน เพื่อป้องกันการละเมิดกฎหมายควบคุมอาคาร ซึ่งอาจนำไปสู่การถูกรื้อถอนในภายหลังได้

งบประมาณในการต่อเติมครัวไทย

เมื่อเจ้าของบ้านต้องการต่อเติมห้องครัว สิ่งแรกที่ควรทำคือการกำหนดงบประมาณและประเมินขนาดพื้นที่ครัวที่ต้องการต่อเติมอย่างชัดเจน เพื่อช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายและหลีกเลี่ยงปัญหาการใช้งบเกินที่ตั้งไว้ MASTER HOME เราเชี่ยวชาญในการวางแผน และดำเนินการต่อเติมให้สอดคล้องกับงบประมาณของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อยหรือการต่อเติมใหม่ทั้งหมด 

ค่าใช้จ่ายในการต่อเติมครัว จะแตกต่างกันไปตามขนาดของห้องครัวและวัสดุที่เลือกใช้ โดย MASTER HOME จะช่วยประเมินค่าใช้จ่ายเบื้องต้นและให้คำแนะนำ เพื่อให้คุณสามารถเลือกสิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับบ้านของคุณ

ไม่ว่าคุณจะต้องการ ต่อเติมห้องครัว ไทยแบบไหน MASTER HOME สามารถออกแบบและสร้างครัวที่ตรงตามความต้องการและสไตล์ของคุณ พร้อมทั้งรับประกันคุณภาพและความคุ้มค่าของงานต่อเติมนานถึง 1 ปี

บริษัท มาสเตอร์ โฮม (เอ็มเอช) จํากัด
MASTER HOME (MH) CO., LTD.

ที่ตั้ง : 88/8 โครงการสําเพ็ง 2 ถนนกัลปพฤกษ์
แขวงบางแค เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 10160

โทร. : 098-389-5888

อีเมล์ : masterhomethailand@gmail.com